bullet activity

 

 

ประวัติความเป็นมา

โรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ

 

 

ประวัติการจัดตั้ง "โรงเรียนจ่าอากาศ"

         

            โรงเรียนจ่าอากาศ เป็นสถาบันการศึกษาหลักขั้นต้นของกองทัพอากาศที่ผลิต นายทหารประทวนให้กับส่วนราชการต่างๆ ของกองทัพอากาศ และนอกกองทัพอากาศที่ฝากผลิตเป็นครั้งคราว ตลอดทั้งให้การศึกษาอบรมข้าราชการกลาโหมพลเรือนต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตรทั้งในและนอกกองทัพอากาศตามแต่กองทัพอากาศจะกำหนด

          เดิมกองทัพอากาศ ไม่มีโรงเรียนผลิตนายทหารประทวน ส่วนใหญ่นายทหารประทวน จะได้มาจากทหารกองประจำการ ที่สมัครเข้ารับราชการต่อ แต่งตั้งยศเป็นจ่าอากาศ เมื่อปฏิบัติงานมีความรู้ มีความสามารถ มีความชำนาญงานสูง ก็จะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง เลื่อนยศให้สูงขึ้นตามลำดับ จนเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร

          ในปี พ.ศ.๒๔๘๑ กองทัพอากาศได้กำหนดให้มี แผนกอาวุธ กองโรงเรียนการบิน และมีแผนกโรงเรียน เป็นหน่วยขึ้นตรงกับกรมเสนาธิการทหารอากาศ แบ่งกิจการ และกำหนดหน้าที่แผนกโรงเรียน ดังนี้

                                กองศึกษาที่ ๑ มีหน้าที่อบรมนายทหารสัญญาบัตร ทุกจำพวก

                                กองศึกษาที่ ๒ มีหน้าที่อบรมนายทหารประทวน ทุกจำพวก

                                กองโรงเรียนจ่าอากาศทหารราบ มีหน้าที่อบรมผู้บังคับหมู่ทหารราบ

          ภารกิจของแผนกโรงเรียน เริ่มแรกได้คัดเลือกทหารกองประจำการตามกองบินต่างๆ เข้ารับการอบรมหลักสูตรเร่งรัดใน กองโรงเรียนจ่าอากาศทหารราบ เพื่อผลิตเป็นผู้บังคับหมู่สำหรับปกครองทหารกองประจำการ

            ในปี พ.ศ.๒๔๘๓ เกิดกรณีพิพาทอินโดจีน กองทัพอากาศได้ประสบเหตุการณ์รบอย่างแท้จริง จึงเล็งเห็นความสำคัญในด้านการศึกษาว่า "ทหารจำเป็นต้องมีความรู้ในหลักวิชาเพื่อสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง กองทัพอากาศจึงจะมีประสิทธิภาพด้านการรบ หากจะใช้แต่ความกล้าหาญและความชำนาญการรบ ย่อมไม่เป็นการเพียงพอ และอาจก่อให้เกิดเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการปฏิบัติการรบได้จากแนวความคิดในด้านการศึกษาดังกล่าว กองทัพอากาศ ได้เริ่มดำเนินการเพื่อวางรากฐานโครงการศึกษาของกองทัพอากาศขึ้น ได้ปรับปรุงและกำหนดอัตราตามลำดับ

              ในปี พ .ศ.๒๔๙๑ กำหนดให้ใช้อัตรากองทัพอากาศ พ.ศ.๒๔๙๑ ตามคำสั่งกระทรวง กลาโหม (พิเศษ) ที่ ๔๙/๑๙๑๒๗ "แผนกโรงเรียน" เปลี่ยนฐานะเป็น "กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ" ขึ้นตรงต่อกองทัพอากาศ เริ่มบริหารงานตามอัตราใหม่ ตั้งแต่ ๗ มกราคม ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นวันเปิดประชุมสภากองทัพอากาศครั้งแรก ได้มีการรวมแผนกโรงเรียนต่างๆ ของกองทัพอากาศ เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ดังนี้

                          โรงเรียนฝึกการช่างอากาศ ของกองโรงงานกรมทหารอากาศ

                          โรงเรียนสื่อสาร ของแผนกสื่อสาร กรมเสนาธิการทหารอากาศ

                          กองโรงเรียนจ่าอากาศทหารราบ

และได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นใหม่ เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ คือ

  กองโรงเรียนการอาวุธ              กองโรงเรียนถ่ายรูป             โรงเรียนการบิน          กองโรงเรียนพลาธิการ 

 กองโรงเรียนจ่าอากาศพยาบาล     โรงเรียนนายทหารนักบิน      โรงเรียนการช่วยรบ

      ในปี พ.ศ.๒๔๙๕ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ มีภารกิจต้องรับผิดชอบการศึกษาของกองทัพอากาศทั้งหมด ได้รับโอนโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศจากกรมเสนาธิการทหารอากาศ จัดตั้งโรงเรียนนายเรืออากาศขึ้น กองโรงเรียนจ่าอากาศเหล่าต่างๆ ได้รวมกันเป็น"กองโรงเรียนจ่าอากาศ" ขึ้นตรงต่อกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ เมื่อ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๙๕ ตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม (พิเศษ) ที่ ๑๒/๒๐๐๙ ลง ๒๘ มกราคม ๒๔๙๖

        ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ กำหนดให้ใช้อัตรากองทัพอากาศ พ.ศ.๒๔๙๘ ตามคำสั่งกระทรวง กลาโหม(พิเศษ) ที่ ๑๔/๓๙๖๓ แก้ไขคำว่า "กองโรงเรียนจ่าอากาศเหล่าต่างๆ" เป็น "โรงเรียนเหล่าต่างๆ" ตัดคำว่า "กอง" ออก ขึ้นตรงกับ "กองโรงเรียนจ่าอากาศ" และคงมีหน่วยขึ้นตรงใหม่คือโรงเรียนเหล่าต่างๆ (ช่างอากาศ อากาศโยธิน การอาวุธ สื่อสารพลาธิการ ถ่ายรูป จ่าอากาศพยาบาล) กองบริการ กองการศึกษา และกองการปกครอง

          ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ กำหนดให้ใช้อัตรากองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๐๖ ตามคำสั่ง ทอ. (เฉพาะ) ที่ ๙/๐๖ ลง ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ ตั้งแต่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๐๖ เป็นต้นไป โดยได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตามคำสั่ง กห. (เฉพาะ) ที่ ๕๒/๑๖๘๘๗ ลง ๒๙ สิงหาคม ๒๕๐๖ กำหนดให้เปลี่ยนชื่อ "โรงเรียนเหล่าต่างๆ" เป็น "แผนกวิชาการ..." ขึ้นตรงกับกองการศึกษาและคงมีหน่วยขึ้นตรงต่อกองโรงเรียนจ่าอากาศ รวม ๓ หน่วยคือ กองบริการ กองนักเรียน และ กองการศึกษา

          ในปี พ.ศ.๒๕๑๐ กำหนดให้เปลี่ยนชื่อ กองโรงเรียนจ่าอากาศ เป็น โรงเรียนจ่าอากาศเปลี่ยนชื่อ "แผนกวิชาการ..." เป็น "แผนกวิชา..." ตามคำสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๗/๑๐ และทางราชการได้มีการปรับเปลี่ยนเพิ่ม หน่วยงานต่างๆ ในโรงเรียนจ่าอากาศโดยตลอด ในปี พ.ศ.๒๕๒๑, ๒๕๒๓, ๒๕๒๔, ๒๕๒๖ และ ๒๕๓๐ ตามลำดับ ดังนี้

.ศ.๒๕๒๑-๒๕๒๓ รับผู้จบการศึกษา ม.ศ.๓ หรือเทียบเท่า ศึกษาหลักสูตร ๑ ปี และ ๒ ปี ตามที่สายวิทยาการกำหนด และรับผู้จบการศึกษา ม.ศ.๕ เรียนหลักสูตรพยาบาลชาย ระยะเวลาที่ศึกษา ๓ ปี

.ศ.๒๕๒๔ รับผู้จบการศึกษา ม.ศ.๓, ม.๓ หรือเทียบเท่า ศึกษาหลักสูตรต่างๆ๑๓ เหล่าทหาร ระยะเวลาศึกษา ๒ ปี ยกเว้นหลักสูตรพยาบาลชาย ระยะเวลาศึกษา ๓ ปี

พ.ศ.๒๕๒๕ งดรับ นจอ.   

.ศ.๒๕๒๖ รับผู้จบการศึกษา ม.ศ.๕ หรือเทียบเท่า จำนวน ๑๓ เหล่าทหาร ระยะเวลาศึกษา ๑ ปี

.ศ.๒๕๒๗ รับผู้จบการศึกษา ม.ศ.๕ หรือ ม.๖ หรือเทียบเท่า จำนวน ๑๓ เหล่าทหาร ระยะเวลาศึกษา ๑ ปี

.ศ.๒๕๒๘-๒๕๓๓ รับผู้จบการศึกษา ม.๖ หรือเทียบเท่า ระยะเวลาศึกษา ๑ ปี

.ศ.๒๕๓๔-๒๕๓๘ รับผู้จบการศึกษา ม.๖ หรือเทียบเท่า ระยะเวลาศึกษา ๒ ปี

.ศ.๒๕๓๙ กำหนดให้ใช้อัตรากองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๓๙ ตามคำสั่ง ทอ. (เฉพาะ) ที่ ๑๗๑/๓๙ ลง ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ ตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๙ เป็นต้นไป โดยได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตามคำสั่ง กห.(เฉพาะ) ลับ ที่ ๑๐๒/๓๙ ลง ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๙ มีหน่วยขึ้นตรงรวม ๗ หน่วย คือ กองบังคับการแผนกการเงินกองบริการ กองการศึกษากองการฝึกกองนักเรียน และโรงเรียนนายทหารประทวน และ ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ รร.จอ.ฯ ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตร นจอ.พ.ศ.๒๕๓๖ เป็น ๒ หลักสูตร คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ (ระดับต้น) รับผู้จบการศึกษา ม.๖ หรือเทียบเท่า (เฉพาะแผนการเรียนวิทย์-คณิต) เข้าศึกษา ๒ ปี (เหล่าทหารแพทย์) ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ (ระดับต้น) ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยให้การรับรอง และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ รร.จอ. พ.ศ.๒๕๓๙ รับผู้จบการศึกษา ม.๓ หรือเทียบเท่า เข้าศึกษา ๓ ปี ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ รร.จอ. มีกรมอาชีวศึกษาให้การรับรอง

.ศ.๒๕๔๕ กำหนดให้ใช้หลักสูตรเพื่อการฝึกศึกษาของนักเรียนจ่าอากาศตามคำสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๑๖๔/๔๕ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๖ เป็นต้นไป เป็นหลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศพุทธศักราช ๒๕๔๕ มี ๒ หลักสูตร คือ หลักสูตร ๑ ปี (เหล่า กง.,ขส.,ชย.,ถร.,พด.,พธ.,สบ.,สห.,อย.,อต.) และหลักสูตร ๒ ปี (เหล่า ชอ.,ตห.,สพ.,ส.) รับผู้จบการศึกษา ปวช.หรือชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่าทั้ง ๒ หลักสูตร ถ้าสำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรโรงเรียนจ่าอากาศ

.ศ.๒๕๔๘ กำหนดให้ใช้หลักสูตรเพื่อการฝึกศึกษาของนักเรียนจ่าอากาศ ตามคำสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๕๗ /๔๘ ลง ๒๑ เมษายน ๒๕๔๘ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๘ เป็นต้นไป มีด้วยกัน ๒ หลักสูตร คือหลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ พุทธศักราช ๒๕๔๘ รับผู้จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ (ม.๖) ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า เข้าศึกษา ๒ ปี (เหล่า สห.,อย.) เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรโรงเรียนจ่าอากาศ และเทียบความรู้ได้เท่าประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ พุทธศักราช ๒๕๔๘ รับผู้จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ (ม.๓) ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า เข้าศึกษา ๓ ปี(เหล่า ชอ.,สพ.,ส.) เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ และเทียบความรู้ได้เท่าประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทั้ง ๒ หลักสูตรนี้ ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ.๒๕๕๐ กำหนดให้ใช้หลักสูตรเพื่อการฝึกศึกษาของนักเรียนจ่าอากาศตามคำสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๑๑๕/๕๐ ลง ๒๗ กันยายน ๒๕๕๐ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
เป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาการศึกษา ๒ ปี ของเหล่าทหารต้นหนและเหล่าทหารอุตุ รับผู้จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม
.๖) แผนการเรียนวิทย์-คณิตเมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรโรงเรียนจ่าอากาศและเทียบความรู้ได้เท่าประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ซึ่งสำนักงานคระกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) ให้การรับรองคุณวุฒิ

vพ.ศ.๒๕๕๓ กำหนดให้ใช้หลักสูตรเพื่อการศึกษาของนักเรียนจ่าอากาศตามคำสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๔๗/๕๓ ลง ๖ กันยายน ๒๕๕๓ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป คือหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ระดับต้น พ.ศ.๒๕๕๓ มีระยะเวลาศึกษา ๒ ปี รับผู้จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) แผนการเรียนวิทย์-คณิต เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษา ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ระดับต้น ซึ่งวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ เป็นหน่วยที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาภาควิชาการ และหลักสูตรดังกล่าวได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล เมื่อ ๒ เมษายน ๒๕๕๓ ผู้สำเร็จการศึกษามีสิทธิ์สมัครสอบเพื่อขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้

พ.ศ.๒๕๕๗ กำหนดให้ใช้หลักสูตรเพื่อการฝึกศึกษาของนักเรียนจ่าอากาศตามคำสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๒๙/๕๗ ลง ๒๖ กันยายน ๒๕๕๗ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๘ เป็นต้นไป เป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาการศึกษา ๒ ปี โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ (ม.๖) ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า (เหล่า ชอ., ส., สพ., อย., และ สห.) และรับจากผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ แผนการเรียนวิทย์-คณิต (เหล่า ตห. และ อต.) ตามหลักสูตรเมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรโรงเรียนจ่าอากาศ และเทียบความรู้ได้เท่าประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ให้การรับรองคุณวุฒิ

.